วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ลำปาง

1

 ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งเกวียน ต.เวียงตาล อยู่ในความดูแลของฝ่ายอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) แต่เดิม ออป. เป็นศูนย์ฝึกลูกช้างซึ่งเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในโลก โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นสถานที่เลี้ยงและฝึกลูกช้างเพื่อให้เชื่อฟังคำสั่งและมีความชำนาญในการทำไม้ขณะที่แม่ช้างไปทำงานในป่า และเนื่องจากมีนโยบายปิดป่าซึ่งทำให้ช้างต้องว่างงาน ศูนย์ฝึกลูกช้างจึงถูกปรับมาเป็นสถานที่ดูแลช้างแก่และเจ็บป่วย และที่นี่ยังเป็นสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลช้างด้วย ออป.จึงได้ก่อตั้งศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 และจัดกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยว ได้แก่


                                                 3

 การแสดงของช้าง ซึ่งยังคงอนุรักษ์ศิลปะการทำไม้ซึ่งใช้ช้างเป็นพาหนะ และแรงงานที่สำคัญ ในการชักลากไม้ที่ได้จัดแสดงให้นักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างประเทศได้ชม เวลาในการแสดง
       วันจันทร์ - ศุกร์ มีการแสดง 2 รอบ ในเวลา 10.00 น . และ 11.00 น .
       วันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดต่างๆ จะเพิ่มรอบการแสดงในเวลา 13.30 น .


                                                  4


   นั่งช้างรอบบริเวณซึ่งเป็นสวนป่า ธรรมชาติยังมีสิ่งดีๆ ที่คอยให้กำลังใจกับเราทุกเมื่อ บางครั้งเราอาจจะสับสนวุ่นวาย เครียดหนักกับการทำงานทั้งวัน ทั้งสัปดาห์ลองหลบความวุ้นวายเหล่านั้น ไปท่องเที่ยวกับธรรมชาติ โดยเฉาะกับการขี่ช้างชมธรรมชาติ ท่านจะรู้สึกถึงความแปลกใหม่ในชีวิต เป็นรางวัลจากความเหน็ดเหนื่อยที่จะทำให้ท่านลืมงานที่ออฟฟิคไปอีกหลายวันเชียวแหละ การนั่งช้างให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00 - 15.30 น .


                                                4
 การแสดงของลูกช้างทุกวันวันละ 3 รอบคือ
 09.30 น., 11.00 น. และ14.00 น ช้างแท็กซี่ หรือบริการนั่งช้างชมธรรมชาติรอบๆ ศูนย์ฯ มีทุกวัน     เวลา 08.00-15.30 น
        โฮมสเตย์ (Homestay) ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสบรรยากาศธรรมชาติ เรียนรู้วิถีชีวิตที่ผูกพันระหว่างช้างกับคนเลี้ยงช้างอย่างใกล้ชิด บริการอาหารเครื่องดื่มและร้านขายของที่ระลึก ค่าเข้าชมสำหรับ ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการได้หลายเส้นทาง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 054-247871-6
                                              5
  ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Tourism Awards) ประเภทรางวัลดีเด่นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ พ.ศ.2541 ปัจจุบันศูนย์ฯมีโครงการ โรงเรียนฝึกควาญช้าง เพื่อฝึกควาญหรือผู้ที่ประสงค์จะเป็นควาญให้สามารถดูแลช้างได้อย่างถูกต้อง มีชาวต่างชาติให้ความสนใจมาสมัครเป็นนักเรียนหลายคน นอกจากเรื่องท่องเที่ยวแล้วยังมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ พลังงานที่ใช้ภายในศูนย์ฯ มาจากพลังงานทดแทนในโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ มีก๊าซชีวภาพจากมูลช้างใช้ในการหุงต้ม และกระแสไฟฟ้าผลิตจากเซลล์แสงอาทิตย์

6  
      สวนป่าทุ่งเกวียน เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวลำปาง มีป่าสนเมืองหนาวและพันธุ์ไม้นานาชนิด ทั้งไม้ดอก ไม้ใบที่มีสีสันสวยงาม อีกทั้งไม้จำพวกตะบองเพชร และปาล์ม ตลอดจนพืชสมุนไพรต่างๆ นักท่องเที่ยวสามารถแค้มปิ้งที่นี่ได้ ช่วงที่สวยที่สุดเหมาะแก่การพักแรมคือเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกบัวตองกำลังบาน เนื่องจากจังหวัดลำปางมีพื้นที่เป็นแอ่งกะทะจึงมีอากาศที่ร้อนกว่าแม่ฮ่องสอน ดอกบัวตองที่ลำปางจึงบานเร็วกว่าที่ดอยแม่อูคอประมาณ 15 วัน 
ประมาณเดือนตุลาคมมีการจัดกิจกรรมทุ่งเกวียนเมาเท่นไบค์ และเดือนธันวาคมของทุกปี จะมีการจัดงาน “ดอกไม้บานวันพบช้าง”

     


ที่มาของข้อมูล : http://www.yourhealthyguide.com/travel/tn-thailandelephant.htm








วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

โครงานวิทยาศาสตร์น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด






โครงงานวิทยาศาสตร์
เรื่องน้ำยาเช็ดกระจกดอกอัญชันและมะกรูด

ผู้จัดทำ
1.ด.ญ.กัญญาณัฐ  หมูตา         เลขที่ 1      ม. 1/1
2.ด.ญ.กัลยารัตน์   จำปา         เลขที่ 2      ม. 1/1
3.ด.ญ.กานต์รวี     ทิพย์กันเงิน เลขที่ 3      ม. 1/1
4.ด.ญ.กีรณา        ขันไชยวงค์   เลขที่ 4      ม. 1/1
5.ด.ญ.ขวัญข้าว     ภิรมย์กิจ      เลขที่ 5      ม. 1/1
6.ด.ญ.จิณฑ์จุฑา  สุวรรณโน     เลขที่ 6      ม. 1/1

ครูที่ปรึกษา
1.ครูประเทือง               ผัดวัง
2.ครูกัญญารัตน์             มูลวิชา
3.ครูเปมวีร์ญาณ์            โชคชัยอุดมกูล

โรงเรียนลำปางกัลยาณี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 35









โครงงานเรื่อง    น้ำยาเช็ดกระจกดอกอัญชันและมะกรูด
ผู้ทำโครงงาน    1.   ด.ญ.กัญญาณัฐ        หมูตา  
2.   ด.ญ.กัลยารัตน์        จำปา            
3.   ด.ญ.กานต์รวี         ทิพย์กันเงิน      
4.   ด.ญ.กีรณา  ขันไชยวงค์      
5.   ด.ญ.ขวัญข้าว         ภิรมย์กิจ         
6.   ด.ญ.จิณฑ์จุฑา        สุวรรณโน       
โรงเรียน          ลำปางกัลยาณี
ครูที่ปรึกษา        1.  ครูประเทือง                ผัดวัง
  2.  ครูกัญญารัตน์      มูลวิชา
  3.  ครูเปมวีร์ญาณ์      โชคชัยอุดมกุล


บทคัดย่อ

 โครงงานเรื่องน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชัญและมะกรูด มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้กับชีวิตประจำวัน โดยผู้จัดทำได้ออกศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ตและจากคนในชุมชน ผู้จัดทำได้ความรู้เรื่องการทำน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชัญและมะกรูดแล้ว ก็มีแนวความคิดจัดทำขึ้นเป็นโครงงาน เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1มีความรู้และเมื่อได้ความรู้แล้วก็สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้




 กิตติกรรมประกาศ
โครงงานเรื่องนี้ประกอบด้วยการดำเนินงานหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การศึกษาหาข้อมูล การทดลองการวิเคราะห์ผลการทดลอง การจัดทำโครงงานเป็นรูปเล่ม จนกระทั่งโครงงานนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีตลอดระยะเวลาดังกล่าวคณะผู้จัดทำโครงงานได้รับความช่วยเหลือและคำแนะนำในด้านต่าง ๆ ตลอดจนได้รับกำลังใจจากบุคลากรหลายท่าน คณะผู้จัดทำตระหนักและซาบซึ้งในความกรุณาจากทุก ๆ ท่านเป็นอย่างดี ณ โอกาสนี้ขอขอบคุณทุก ๆ ท่าน ดังนี้
ขอขอบคุณ ครูประเทือง  ผัดวัง ครูกัญญารัตน์ มูลวิชา และครูเปมวีร์ญาณ์  โชคชัยอุดมกุล อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ผู้ให้ความรู้ คำแนะนำ เสียสละเวลามาช่วยฝึกฝนเทคนิคในการทำโครงงานครั้งนี้ และได้เมตตาให้ความช่วยเหลือในทุก ๆ ด้าน ตลอดจนเอื้อเฟื้อห้องปฏิบัติการและเครื่องมือต่าง ๆ ในการทำโครงงานนี้จนประสบความสำเร็จ
ขอขอบคุณทุกกลุ่มสาระรายวิชาของโรงเรียนลำปางกัลยาณีที่ได้กรุณาให้ความรู้ คำแนะนำ ข้อติชม ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์  อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง
ขอขอบคุณผู้อำนวยการธรณินทร์  เมฆศิริ ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปางกัลยาณี อำเภอเมืองลำปาง
จังหวัดลำปาง  ที่ได้ให้การสนับสนุนในทุก ๆ ด้าน
ขอขอบคุณ เพื่อน ๆ ที่ได้ให้ความช่วยเหลือในการทำโครงงาน
ท้ายที่สุด ขอกราบขอบพระคุณ คุณพ่อและคุณแม่ ผู้เป็นที่รัก ผู้ให้กำลังใจและให้โอกาสการศึกษาอันมีค่ายิ่ง

                                                                                               


คณะผู้จัดทำ



สารบัญ

หน้า

บทคัดย่อ                                                                                                        
กิตติกรรมประกาศ                                                                                     
สารบัญตาราง                                                                                                                                      สารบัญภาพ                                                                                บทที่ 1 บทนำ
          ที่มาและความสำคัญ                                                                         
          วัตถุประสงค์ของโครงงาน                                                          
          ขอบเขตของโครงงาน                                                                        
          สมมติฐาน                                                                                              
          ตัวแปรที่ศึกษา                                                                                                                        บทที่ 2  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง                                          
บทที่ 3 วิธีดำเนินการทดลอง                                                                
บทที่ 4 ผลการทดลอง                                                                                
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ                                      
เอกสารอ้างอิง                                                                                         
ภาคผนวก      
ก.แสดงการนำผิวมะกรูดใส่ลงในหม้อต้ม
ข.แสดงการนำน้ำตาลใส่ลงในหม้อต้ม
ค.แสดงการเทน้ำหมักลงในโหลหมัก                                                                                               
         


สารบัญตาราง

ตารางที่                                                                                       หน้า

             4.1  แสดงการลดลงและจางหายไปของคราบบนกระจก 

สารบัญรูปภาพ

ภาพที่                                                                                         หน้า
             2.1 ภาพมะกรูด
                  2.2 ภาพดอกอัญชัน                                                              



 บทที่ 1
บทนำ
1.1   ที่มาและความสำคัญ
            ในปัจจุบันมีการ ใช้สารเคมีใบชีวิตประจำวันกันอย่างแพร่หลาย  และมีสารเคมีที่มีพิษรวมอยู่ด้วยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหามลพิษ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขสารพิษตกค้างทั้งในน้ำ  ในอากาศ  ในดิน  รวมทั้งในอาหาร  ล้วนมีสารตกค้างทั้งสิ้น
          น้ำยาเช็ดกระจกที่ใช้กันทั่วไปมีส่วนผสมของ บิวทิล  เซลโลโซล และ  แอมโมเนียมไฮโมนอกไซด์  ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ซึ่งสารเคมีนี้มีอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น
          ดอกอัญชันสีม่วง ที่ขึ้นอยู่ทั่วไปบริเวณใกล้บ้าน ในสวน ริมถนน  คนในชุมชนโดยเฉพาะผู้สูงอายุมักนำดอกอัญชันมาใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น ทาผม ทาคิ้ว เพื่อให้ดกดำ ใช้แทนสีผสมอาหาร เป็นน้ำชาลดอาการเบาหวาน เป็นต้น
          ดังนั้นผู้ทำโครงงานน้ำยาเช็ดกระจกมะกรูดและดอกอัญชันมาช่วยลดคราบสกปรกและยังไม่มีสารเคมีเพราะน้ำยาเช็ดกระจกที่ชื้อมาอาจจะมีสารเคมี
1.2   วัตถุประสงค์
  เพื่อศึกษาผลการทำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันและมะกรูดในอัตราส่วนต่างๆเพื่อนำไปใช้ขจัดคราบสกปรกบนกระจก
1.3   ขอบเขตของการศึกษา
1.   น้ำหมักชีวภาพจากอัญชันและมะกรูดจะใช้อัญชันสีม่วงพันธ์กลีบชั้นเดียว และพันธุ์กลีบซ้อน
2.   กระจกที่ใช้ทำการทดลอง ใช้กระจกเงาและกระจกใส ที่ความสกปรกตามปกติ
3.   มะกรูดในอัตราส่วนต่างๆ
4.   ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา มิถุนายน -สิงหาคม
1.4   สมมติฐาน
          น้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันและมะกรูดในอัตราส่วน 3: 2 สามารถนำไปใช้ขจัดคราบสกปรกบนกระจกแทนน้ำยาเช็ดกระจกทั่วไปได้



1.5   ตัวแปร
ตัวแปรต้น          น้ำยาเช็ดกระจกดอกอัญชันและมะกรูดในอัตราส่วนต่างๆ 3: 2 , 3:3
ตัวแปรตาม         การลดลงหรือหายไปของคราบสกปรกบนกระจก
ตัวแปรควบคุม     ความสกปรกของกระจกก่อนการทดลอง

บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


มะกรูด
มะกรูด  เป็นพืชในตระกูลส้ม (Citrus) มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด



อัญชัน
อัญชัน    จัดเป็นพืชมีดอกชนิดใบเลี้ยงคู่ เป็นพืชเถาเลื้อย  ตระกูลเดียวกับถั่ว มีอายุประมาณ 1 ปี  จึงจัดเป็นพืชอายุสั้น  ลำต้นเลื้อย และพันรอบหลัก  อาจยาวได้ถึง 6-เมตร มีดอกที่สวยงาม  โดยปกติมีสีน้ำเงิน  มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกา





  บทที่ 3
วัสดุ อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
การดำเนินการจัดทำโครงงานในครั้งนี้ คณะผู้จัดทำได้ดำเนินการดังนี้
3.1   วัสดุ-อุปกรณ์และสารเคมี
1.       ดอกอัญชันสีม่วง 300  กรัม
2.       น้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาล 300  กรัม
3.       มะกรูดเฉพาะผิว  200  กรัม
4.       น้ำสะอาด  1  ลิตร
5.       หม้อสแตนเลส/หม้อเคลือบ  1  ใบ
6.       มีด  1  เล่ม
7.       เตา  1  ใบ
8.       โหลสำหรับหมัก  1  ใบ
3.2   วิธีดำเนินการทดลอง
3.2.1   การทำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชัน
     1.   ฝานมะกรูด เอาเฉพาะผิว 200 กรัม
    2. ใส่ลงในหม้อต้มดอกอัญชัน300 กรัม แล้วต้มต่อประมาณ    10  นาที ดับไฟ
    3.   ปล่อยให้น้ำดอกอัญชันเย็นลง จนมีอุณหภูมิ60 องศาเซลเซียส ใส่น้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาลลงไปคนให้ละลายเข้ากัน
   4.   เทใส่โหลสำหรับหมัก ปิดฝา พอให้แก๊สที่เกิดขึ้นระบายออกมาได้ ทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน
    5.   กรองน้ำหมักชีวภาพที่ได้ เอากากออก (นำไปเป็นปุ๋ยต้นไม้ได้)
    6.   นำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันและมะกรูดใส่ลงในขวดสเปรย์

3.2.2 หาประสิทธิภาพในการทำความสะอาดของน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันกับมะกรูด
     
1.ครั้งที่ 1 นำกระจกเงาที่มีความสกปรกตามปกติ 1 แผ่นมาทำความสะอาดด้วยน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูดหลอดที่ 1 ในอัตราส่วน 3:2 เป็นเวลา 3 ครั้งทุกๆนาที่ สังเกตและบันทึกผล    
2.ครั้งที่ 2 นำกระจกเงาที่มีความสกปรกตามปกติ 1 แผ่นมาทำความสะอาดด้วยน้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด หลอดที่ 2 ในอัตราส่วน 3:3 เป็นเวลา 3 ครั้งทุกๆ 5นาที่ สังเกตและบันทึกผล    





บทที่ 4
ผลการทดลอง





ครั้งที่




หลอดทดลองที่


ความสะอาดของกระจกในทุกๆ 5 นาที


ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

1






หลอดที่ 1
(ในอัตราส่วน 3:2)





กระจกสะอาดแต่ไม่เงา





กระจกใสสะอาดและเงา






กระจกใสสะอาดและเงา






2





หลอดที่2
(ในอัตราส่วน 3:3)




กระจกสะอาดไม่เงาและมัว




กระจกใสสะอาดแต่ไม่เงา




กระจกใสสะอาดแต่ไม่
เงา






บทที่ 5
สรุปและอภิปรายผล

5.1 สรุปผลการทดลอง
       จากการทดลองสรุปได้ว่า เมื่อใช้น้ำยาเช็ดกระจกในอัตราส่วน 3:2
 สามารถขจัดคราบบนกระจกได้ดีกว่าน้ำยาเช็ดกระจกในอัตราส่วน 3:3

5.2  ข้อเสนอแนะ

           -


เอกสารอ้างอิง


ที่มา  http://miwkattarin.blogspot.com.




ภาคผนวก

ก.แสดงการนำผิวมะกรูดใส่ในหม้อต้ม

   
  






ข. แสดงการนำน้ำตาลลงใส่ในหม้อต้ม







  



ค. แสดงการเทน้ำหมักลงในโหลสำหรับหมัก